วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติและผลงานของนายสมัย สาวงษา อาสาปศุสัตว์ดีเด่นของจังหวัดเชียงรายปี ๒๕๕๕



ประวัติและผลงาน
นายสมัย สาวงษา อาสาปศุสัตว์ดีเด่น
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
                        ประวัติส่วนตัว
1. ชื่อ     นายสมัย สาวงษา อายุ .....51....ปี
2. ที่อยู่......
            บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 3 ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 08-7303-6390
3. ระดับการศึกษา
            ประถมศึกษาปีที่ 4.
4. อาชีพหลัก.
            เกษตรกรรม.. (ทำนา , ทำไร่ , ทำสวน )..
5. อาชีพรอง.
            เลี้ยงสัตว์....( กระบือ , เป็ด , ไก่พื้นเมือง , สุกร )...
7. สถานภาพ.
            สมรส ชื่อภรรยา.....นางสมศรี  สาวงษา    มีบุตร-ธิดารวม  2   คน
8. ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
            8.1. อาสาปศุสัตว์ประจำบ้านป่าเลา หมู่ที่ 3 ตำบลดงมหาวัน ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน
            8.2. ประธานกลุ่มเลี้ยงกระบือบ้านป่าเลาตามแนวพระราชดำริ
            8.3. ประธานอาสาพัฒนาชุมชน ตำบลดงมหาวัน
            8.4. คณะกรรมการหมู่บ้านป่าเลา ตำบลดงมหาวัน
            8.5. กรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดงมหาวัน
            8.6. กรรมการแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน
            8.7. อาสาเกษตรประจำหมู่บ้าน
9. ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอาสาปศุสัตว์
            9.1. มีความรู้ความสามรถในการฉีดวัคซีนโค กระบือ การทำวัคซีนสุกร และสัตว์ปีก
            9.2. มีความสามารถ ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีสัตว์ป่วยในหมู่บ้าน
            9.3. มีประสบการณ์การเลี้ยงโค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ เป็นอย่างดี เป็นฟาร์มเครือข่ายสาธิตการเลี้ยงสัตว์ประจำ        ตำบลดงมหาวัน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            9.4 .เป็นวิทยากรบรรยายการเลี้ยงสัตว์ การทำอาหารสัตว์แบบธรรมชาติลดต้นทุนอาหารสัตว์
           

                   1.การทำหน้าที่เป็นอาสาปศุสัตว์
            เป็นอาสาปศุสัตว์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ได้รับเกียรติบัตร รางวัลอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับหนึ่ง ของ           สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และอาสาปศุสัตว์ดีเด่น อันดับที่๒ ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายปี    ๒๕๕๔ ให้ความร่วมมือกับ   เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ในการให้บริการเกษตรกรในพื้นที่ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
            1. โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ให้แก่โค กระบือ ของเกษตรกรในพื้นที่บ้านป่าเลา
            - ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 2 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....265 ....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 2 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....202.....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 2 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....85.....ตัว
            2. โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค 
เฮโมรายิกเซพติซีเมีย ให้แก่โค กระบือ ของเกษตรกรในพื้นที่บ้านป่าเลา
            - ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน......28....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน......26.....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน.......27.....ตัว
            3. โครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้แก่สุนัขและแมว ของเกษตรกรในพื้นที่บ้านป่าเลา
            - ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....112....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....121....ตัว
            - ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 1 ครั้ง บริการฉีดวัคซีนให้แก่สัตว์ในพื้นที่ จำนวน....192....ตัว
            4. การรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนก ในพื้นที่เสี่ยง
            - ปี พ.ศ. 2553 จำนวน 2 ครั้ง ...........78...........ครัวเรือน
            - ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 2 ครั้ง ...........93..........ครัวเรือน
            - ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 3 ครั้ง ...........74..........ครัวเรือน
            5. ให้บริการรักษาพยาบาลสัตว์เบื้องต้น ฉีดยาคุมกำเนิดสุนัขและแมวปี 2551- 2554 
            จำนวน....352....ตัว ให้คำแนะนำในการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรภายในหมู่บ้าน จำนวน....67...ครั้ง
            6. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมข่าวสารของหน่วยงานปศุสัตว์ในที่ประชุมประจำหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง
                       
                       


                        2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
1. สร้างสวนของตนเอง เป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรโดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ หน่วยราชการหลายๆหน่วยงานเช่น สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานเกษตร สำนักงานพัฒนาชุมชน หน่วยทหารพัฒนา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลเวียงเชียงรุ้ง สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเหล่า องค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน
2. เป็นวิทยากรเกษตรกร ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงมหาวัน ร่วมออกบริการให้ความรู้เมื่อมีกิจกรรม อบต.เคลื่อนที่
3. เป็นกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดงมหาวัน ผลักดันให้มีการพัฒนาอาชีพการเกษตรของตำบลให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โครงการทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกข้าวไร้สารพิษ โครงการเมล็ดพันธ์พืชที่จำเป็น เช่น ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น
                      3. ความประพฤติ
เป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเยี่ยม เข้าได้กับทุกเพศทุกวัยจึงเป็นที่รักใคร่ของสมาชิกด้วยกัน ชอบช่วยเหลือกิจกรรมของคนอื่น ๆ มีงานบุญกุศลที่ไหนไม่เคยขาดจะไปร่วมอยู่เสมอ
                        4. บุคลิกภาพ
เป็นคนสุขุม เรียบร้อย ใจเย็น มีความสุภาพเป็นมิตรกับทุกคน ยอมรับฝังความคิดเห็นของคนอื่น เป็นคนร่าเริงสร้างความสนุกสนานให้กับเพื่อนเกษตรกรได้ดี
                       
5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ริเริ่มตั้งกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับนายบุญชวน มะลัยโย สร้างฟาร์มสาธิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนำร่อง  จนได้รับการยกย่องให้เป็น บุคคลต้นแบบนำร่องของจังหวัดเชียงราย ที่นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชีวิตประจำวันแล้วเผยแพร่ขยายให้ชุมชนใกล้เคียง จนได้รับคัดเลือกให้เข้าเฝ้าถวายรายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ในงานนิทรรศการใต้ร่มพระบาระมี ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555
- ริเริ่มสร้างองค์ความรู้การทำอาหารสัตว์แบบประหยัด โดยเข้าร่วมอบรมการทำการเกษตรธรรมชาติโดยใช้สัตว์เป็นยุทธศาสตร์ แล้วนำมาขยายผลในกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ของหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้เกิดความตื่นตัวผลิตอาหารสัตว์จากวัสดุในท้องถิ่น ลดต้นทุนด้านอาหาร  เป็นแหล่งเรียนรู้อบรมสร้างความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านปศุสัตว์ ด้านประมง พืช ตลอดจนการทำน้ำยาเอนกประสงค์สำหรับใช้ในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
- ริเริ่มการเลี้ยงหมูแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) เป็นตัวอย่างให้กลุ่มได้เรียนรู้ เพื่อลดมลภาวะด้านกลิ่น สร้างปุ๋ยที่ใช้หมูหมักให้เป็นปุ๋ยหมักครบสูตร นำมาปรับปรุงดินได้จำนวนมาก เพิ่มผลผลิตทางด้านพืชโดยเฉพาะข้าว ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- ริเริ่มทำบ่อแก๊สชีวภาพจากถุงพีวีซี เพื่อกำจัดมูลสัตว์ ขยะในครัวเรือนเปลี่ยนเป็นก๊าซหุงต้มได้ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของเพื่อนบ้านเกษตรกรทั่วไป
- ริเริ่มนำองค์ความรู้การใช้เครื่องตะบันน้ำมาใช้ในฟาร์มแล้วนำมาเผยแพร่แนะนำแก่ผู้สนใจ จนได้รับการคัดเลือกจาก หน่วยทหารพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานของหน่วยและเกษตรกรที่มารับการอบรม
- ริเริ่มตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือในหมู่บ้านป่าเลา รวมตัวกันแล้วขอรับโครงการกระบือจากโครงการธนาคารโค กระบือเพื่อเกษตรกรตามแนวพระราชดำริ เพื่อหวังอนุรักษ์กระบือพันธุ์พื้นเมืองไทยให้มีตราบชั่วลูกชั่วหลาน


                        6. การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายสมัย สาวงษา ให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทำการเกษตรครบวงจร ยกตัวอย่างเช่น
- การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลาย ทั้งบริเวณสวยและขอบบ่อปลา
- การเลี้ยงสุกรธรรมชาติ (หมูหลุม) เพื่อลดปัญหาด้านกลิ่น และเน้นการเอาวัสดุในท้องถิ่นมาปรับใช้ใหม่อย่างสมดุล ครบวงจร
- ทำบ่อก๊าซชีวภาพแบบใช้ถุงพีวีซี เพื่อหมักมูลสัตว์ เศษขยะที่ย่อยสลายได้ ได้ทั้งก๊าซหุงต้มและปุ๋ยจากมูลสัตว์ที่ผ่านการหมัก เพื่อนำไปบำรุงดิน
- มีการใช้จุลินทรีชีวภาพจากท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์แทนสารเคมีสังเคราะห์ ลดการใช้สารเคมี
-มีการใช้เตาเผาถ่านแบบประหยัดจากถัง สองร้อยลิตร สามารถเก็บนำส้มควันไม้ไว้ปรับสภาพดิน และกำจัดแมลงบางชนิดในพืชและสัตว์เลี้ยง
                        7. ประวัติการอบรม/ดูงาน

- อบรมทบทวนความรู้อาสาปศุสัตว์ ปี 2549
- อบรมพัฒนาปศุสัตว์อินทรีย์ ปี 2550
- อบรมเสวนาการเลี้ยงหมูหลุมปศุสัตว์อินทรีย์ ปี 2551และ ปี 2552
- อบรมเสวนาเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์
ปี 2552-2554
- อบรมศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของนายบุญชวน มะลัยโย ปี 2550-2554
- อบรมศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ที่อำเภอเวียงชัย ปี 2553
-  อบรมดูงานพืชสวนโลกเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์ ปี 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น